รถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซหรือ forklift lpg เป็นรถฟอร์คลิฟที่ใช้ก๊าซ lpg เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีข้อดีที่สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ อย่างไรก็ตามระบบ lpg ก็มีข้อจำกัดในด้านของอันตรายจากการรั่วไหลของ lpg ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
บริษัท เอ็นจิเนียริ่ง อินโนเวชั่น ออดิเตอร์ จำกัด (EI-Auditor) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้งานรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบสภาพถังก๊าซ lpg และอุปกรณ์ส่วนควบอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ และเป็นการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายรถโฟร์คลิฟท์กำหนด
บริษัทฯ จึงเปิดให้บริการงานตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกกฎหมายเรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ โดยต้องมีการเลือกใช้ถังบรรจุก๊าซให้เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบถังให้ครบถ้วนและเหมาะสมกับการนำมาใช้งานกับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ และอุปกรณ์-ส่วนควบของระบบก๊าซต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ปี 2564 กระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎหมาย กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อไอน้ำ
โดยในส่วนที่ 4 ได้กำหนดข้อปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับรถ forklift, การควบคุมดูแลและการใช้งานอย่างปลอดภัย ซึ่งในกรณีที่นายจ้างมีการดัดแปลงรถฟอร์คลิฟท์เพื่อใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือต้องมีการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซโดยวิศวกรรับใบอนุญาต (ปฏิบัติตามกฎหมายปี 2545 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซปีละ 1 ครั้ง)
กระบวนการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซตามกฎหมายกระทรวงอุตสาหกรรม ครอบคลุมการตรวจสอบถังก๊าซ LPG ที่นำมาใช้ สภาพถังก๊าซ LPG และอุปกรณ์ประกอบในระบบก๊าซโดยมีรายละเอียดในการตรวจสอบดังนี้
การตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ จะครอบคลุมการตรวจสอบถังบรรจุก๊าซ LPG ที่จะต้องเลือกใช้ถังก๊าซที่ใช้สำหรับรถฟอร์คลิฟท์โดยเฉพาะโดยจะมีข้อแตกต่างจากถังบรรจุก๊าซที่ใช้ตามครัวเรือนทั่วไป เนื่องจากต้องมีการแยกลิ้นบรรจุ ลิ้นจ่ายและลิ้นนิรภัยออกจากกัน
ลิ้นบรรจุจะมีอุปกรณ์ Filter Valve Adapter เพื่อป้องกันการเติมก๊าซ LPG ไม่ให้เกิน 85% ของปริมาตรถัง , ลิ้นจ่ายจะมีลิ้นควบคุมการไหล (Excess Flow Valve) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหลของก๊าซ LPG ไม่ให้สูงกว่าค่าที่กำหนดที่อาจมีสาเหตุจากสายชำรุดหรือมีการรั่วจำนวนมาก
ซึ่งหากมีการไหลของก๊าซ LPG ที่สูงกว่าค่ากำหนดลิ้นควบคุมการไหลจะปิดโดยอัตโนมัติ
สำหรับลิ้นนิรภัย (Safety Valve) จะทำหน้าที่ระบายก๊าซออกจากถังก๊าซ LPG ไม่ให้มีแรงดันในถังสูงกว่า 375 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI)
ดังนั้นการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซในส่วนของการตรวจสอบความสมบูรณ์ของถังก๊าซ LPG จึงเป็นกระบวนการตรวจสอบที่สำคัญ ที่สามารถยืนยันได้ว่ารถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ LPG จะยังคงใช้งานภายในสถานประกอบการได้อย่างปลอดภัย
มาตรวัดปริมาณก๊าซในถังของรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสามารถบ่งชี้ถึงระดับของก๊าซที่อยู่ในถังได้ใกล้เคียงจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณก๊าซ lpg ในถัง
การตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซในส่วนของการตรวจสอบสภาพถังก๊าซ LPG เป็นการตรวจสอบอายุของถังก๊าซ LPG และมาตรฐานการผลิตถังก๊าซ ซึ่งในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับถังก๊าซ LPG รหัส มอก.27
ถังก๊าซ LPG ตามมาตรฐาน มอก.27 ที่ตัวถังก๊าซต้องมีเครื่องหมายและฉลากที่มีความสูง 4 มิลลิเมตรขึ้นไป สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน โดยต้องมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อผลิตภัณฑ์และ Maximum Working Pressure, Serial Number, ความหนาผนังถัง , ความจุของถังก๊าซ LPG , น้ำหนักถังเปล่า , ชื่อผู้ผลิต , ผู้ตรวจสอบด้วยวิธี Hydrostatic Proof Pressure และเครื่องหมายทางการค้าของผู้จำหน่าย
รถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ที่ใช้กันในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มักถูกดัดแปลงจากรถ forklift ที่ใช้น้ำมันให้สามารถใช้ก๊าซ lpg เป็นแหล่งพลังงานได้ แต่ก็มีรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซบางยี่ห้อ ที่ถูกติดตั้งระบบก๊าซเชื้อเพลิง lpg จากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง
การตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ในส่วนของการตรวจสอบความแข็งแรงของการติดตั้งถังและการวางถัง เป็นกระบวนการตรวจสอบความแข็งแรงของอุปกรณ์สำหรับการยึดตรึงถังก๊าซ lpg เข้ากับตัวรถ forklift รวมถึงความสะดวกในการเปลี่ยนถังก๊าซ lpg กรณีก๊าซหมดถัง
การเชื่อมยึดอุปกรณ์ที่รองรับถังก๊าซ lpg สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิศวกรออกแบบ ซึ่งส่วนใหญ่รถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg จะใช้การเชื่อมยึดชุดถังก๊าซด้วยวิธีเชื่อมประสานและแบบน๊อตยึดเข้ากับตัวรถฟอร์คลิฟท์
การตรวจสอบจุดยึดต่าง ๆ กับตัวรถฟอร์คลิฟท์ในงานตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ วิศวกรที่เข้าตรวจสอบ จะพิจารณาความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมประสาน เช่น แนวเชื่อมไม่มีความชำรุดเสียหายหรือมีการแตกร้าว, น๊อตยึดอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และครบตามจำนวนที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ครั้งแรก
ถังก๊าซ lpg ที่ใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ มีลักษณะที่แตกต่างจากถังก๊าซ lpg ที่ใช้ตามครัวเรือนทั่วไป เนื่องจากมีการแยกลิ้นบรรจุและลิ้นจ่ายออกจากกันอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณก๊าซในถังและลิ้นนิรภัยอีกด้วย
การติดตั้งลิ้นบรรจุ, ลิ้นจ่าย, เครื่องวัดปริมาณก๊าซในถังและลิ้นนิรภัยจะเชื่อมต่อในรูปแบบของเกลียว ซึ่งเมื่อเกิดการใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง อาจเกิดการรั่วไหลของก๊าซ lpg ได้
กระบวนการตรวจสอบการรั่วซึมของก๊าซ lpg ที่บริเวณถังก๊าซ ในงานตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg วิศวกรจะใช้เครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซตรวจพิสูจน์บริเวณจุดเชื่อมต่อที่ถังก๊าซ lpg และจุดเชื่อมต่ออื่น ๆ เพื่อยืนยันว่าไม่มีก๊าซ lpg รั่วซึมออกมา
หม้อต้มก๊าซ lpg หรือ gas reducer เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญตัวหนึ่งในรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ซึ่งหม้อต้มก๊าซนี้มีการต่อท่อนำก๊าซ lpg อยู่หลายส่วนเช่น ท่อก๊าซ lpg ที่มาจากถังก๊าซ หรือท่อก๊าซ lpg ที่ต่อเข้าสู่เครื่องยนต์ ซึ่งการเชื่อมต่อให้เกิดการไหลเวียนของก๊าซระหว่างอุปกรณ์จะใช้สายอ่อนนำก๊าซเป็นอุปกรณ์หลัก
เมื่อเกิดการใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง บริเวณจุดเชื่อมต่อของสายอ่อนนำก๊าซกับหม้อต้มก๊าซ lpg อาจเกิดการรั่วซึม ซึ่งการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซในส่วนนี้ วิศวกรจะใช้เครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซ ตรวจพิสูจน์บริเวณรอยต่อของชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อยืนยันความปลอดภัยที่ต้องไม่พบการรั่วไหลของก๊าซ lpg
สายอ่อนนำก๊าซที่นำมาใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ส่วนมากจะผลิตจาก Polyvinyl Chloride (PVC) ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีที่เกิดจากก๊าซ lpg โดยโครงสร้างของสายอ่อนนำก๊าซจะเป็นแบบ Multi-Layered และในแต่ละชั้นจะมีการเสริมแรงด้วยผ้าเพื่อให้สามารถรับแรงดันได้สูงขึ้น
การตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ในส่วนของการตรวจสอบสายอ่อนนำก๊าซ วิศวกรจะตรวจสอบสภาพของสายก๊าซ lpg ที่ต้องไม่มีการรั่วซึมหรือมีการแตกร้าวทั่วทั้งเส้น และบริเวณขั้วต่อซึ่งมี O-ring จะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่มีการรั่วซึมของก๊าซ lpg
Gas Leak Detector หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์บริเวณที่มีการรั่วไหลของก๊าซ lpg ซึ่งเครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซที่มีใช้กันก็มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับรูปแบบและลักษณะการนำไปใช้งาน
เครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซที่ทางทีมวิศวกรของ EI-Auditor เลือกมาใช้กับงานตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ เป็นเครื่องวัดที่ผลิตในประเทศเยอรมัน ซึ่งมีข้อดีที่มีความสามารถในการเลือกวัดประเภทของก๊าซได้ 3 ก๊าซคือ Methane (CH4), Propane (C3H8) และ Hydrogen (H2) ซึ่งก๊าซทั้ง 3 ตัวนี้เป็นก๊าซที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน LPG
เครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซนี้ มีความไวในการตรวจวัดการรั่วไหลของ Methane (CH4), Propane (C3H8) และ Hydrogen (H2) ตั้งแต่ 10 ppm ขึ้นไป โดยตัวเครื่องมือมี Function ที่ง่ายในการเลือกประเภทของก๊าซที่ต้องการตรวจการรั่วไหล
ppm คือ part per million เป็นหน่วยวัดที่บ่งชี้ส่วนในล้านส่วน เช่น 10 ppm ของ propane เป็นปริมาณก๊าซ propane 10 ส่วนใน 1 ล้านส่วนของก๊าซองค์ประกอบอื่น ๆ
อุปกรณ์หลักที่สำคัญของรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซหรือ forklift LPG คือถังบรรจุก๊าซ LPG และหม้อต้มก๊าซ lpg (lpg Reducer) ซึ่งในการผลิตอุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องโดยมีรายละเอียดดังนี้
ถังปิโตรเลียมเหลวหรือถังก๊าซ lpg ที่นำมาใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ ต้องเป็นถังที่ได้มาตรฐานตาม มอก.27-2543 ซึ่งเป็นมาตรฐานในการควบคุมการออกแบบ การสร้าง การเลือกใช้วัสดุ และการทดสอบถังก๊าซ lpg
ถังบรรจุก๊าซ lpg ได้มีการกำหนดคุณลักษณะให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.27- 2543 ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำตัวถัง ต้องเป็นเหล็กกล้า Killed Steel คุณภาพดี และต้องไม่มีรอยต่อ (Seam) รอยแตกร้าว รอยแยกเป็นชั้น ๆ หรือตำหนิอื่น ที่ทำให้เกิดผลเสียหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
การทดสอบถังก๊าซ lpg ก่อนนำมาใช้งาน เป็นกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ตาม มอก.27- 2543 โดยต้องมีการทดสอบแบบ Hydrostatic Proof Pressure (ทดสอบที่ความดัน 2 เท่าของ Working Pressure), ทดสอบการขยายตัว , ทดสอบความดันระเบิด, ตรวจสอบการรั่วซึม และความทนตกกระแทก
ลิ้นบรรจุ ลิ้นจ่ายที่ติดตั้งที่ตัวถังก๊าซ lpg ต้องผลิตตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและมีความปลอดภัยเพียงพอ มีเกลียวขนาดเดียวกับข้อต่อและต้องมีอุปกรณ์นิรภัยที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.255
ถังก๊าซ lpg เมื่อมีการใช้งานมาช่วงเวลาหนึ่ง ต้องมีการทดสอบความปลอดภัย ซึ่งต้องดำเนินการทุก ๆ 5 ปี โดยการทดสอบให้ดำเนินการตามมาตรฐานการทดสอบ มอก.151 เพื่อยืนยันความปลอดภัยของถังก๊าซ lpg ก่อนนำกลับมาใช้งาน ซึ่งต้องมีการระบุวันหมดอายุของถังที่ตัวถังก๊าซ lpg
อุปกรณ์ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซคือหม้อต้มก๊าซ lpg ที่มีหน้าที่ในการแปลงสถานะของก๊าซ lpg ให้กลายเป็นไอ (เปลี่ยนสถานะ lpg ที่อยู่ใน Phase Liquid ให้อยู่ใน Phase Vapour) โดยใช้น้ำจากหม้อน้ำเครื่องยนต์มาเป็นแหล่งพลังงานความร้อนในการเปลี่ยนสถานะของก๊าซ lpg ซึ่งแก๊สความดันต่ำที่ได้จากหม้อต้มก๊าซ lpg จะส่งต่อไปยังระบบการสันดาปของเครื่องยนต์
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas or LPG) เป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่ใช้กันในวงกว้างในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งของประเทศไทย ซึ่งก๊าซ LPG นี้จะมีส่วนประกอบของก๊าซหลายชนิด แต่จะมีก๊าซโพรเพน [C3H8] และก๊าซบิวเทน [C4H10] เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ
LPG ที่ถูกนำมาใช้งานกับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้กันตามครัวเรือนที่เราพบเห็นกัน แต่จะมีข้อแตกต่างที่ประเภทถังที่ใช้บรรจุจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งถังก๊าซ LPG ที่ใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซจะมีความปลอดภัยสูงกว่าถังบรรจุก๊าซที่ใช้ตามครัวเรือน เนื่องจากต้องเคลื่อนที่ติดตามรถฟอร์คลิฟท์ตลอดระยะเวลาการทำงาน
รถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ถึงแม้จะมีข้อดีที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ แต่การใช้งานรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg ก็ต้องมีการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์และส่วนควบในระบบก๊าซ lpg อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างไรก็ตามหากพบก๊าซ lpg รั่วจากถังในปริมาณมากที่อาจนำมาซึ่งการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติมีดังนี้
- แจ้งเตือนบุคคลที่อยู่ในบริเวณนั้นให้ออกห่างจากเหตุก๊าซรั่วทันที
- หากสามารถเข้าระงับการรั่วของก๊าซ lpg ได้ให้เข้าปิดที่ลิ้นวาล์วที่รั่วทางด้านเหนือลม และหากก๊าซ lpg รั่วที่ตัวถัง ให้พลิกจุดที่รั่วหงายขึ้นด้านบนเสมอ
- ห้ามใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดบริเวณที่มีก๊าซ lpg รั่วไหล
- ห้ามก่อให้เกิดประกายไฟบริเวณที่มีก๊าซ lpg รั่วไหล
- พยายามทำให้ก๊าซ lpg เจือจางโดยเร็วที่สุด โดยอาจใช้พัดหรือผ้า พัดไล่จนหมดกลิ่นเหม็นของก๊าซ lpg
- หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้นำถังก๊าซออกสู่พื้นที่โล่ง
- ขอความช่วยเหลือจากสถานีดับเพลิงในท้องที่
A : งานตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ lpg เข้าข่ายงานพิจารณาตรวจสอบภาชนะรับแรงดันที่ต้องใช้วิศวกรสาขาเครื่องกลระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป ในการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัย ตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2551
A : ตามกฎหมายปี 2545 ได้กำหนดให้โรงงานที่มีการนำรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซมาใช้ ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งรถฟอร์คลิฟท์ที่มิได้ติดตั้งระบบก๊าซ LPG ไม่เข้าข่ายที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามกฎหมายนี้
A : ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากถังก๊าซ LPG ที่จะนำมาใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ต้องมีการติดตั้งลิ้นบรรจุ, ลิ้นจ่าย, ลิ้นนิรภัยและเครื่องวัดปริมาณก๊าซในถัง
A : หากวิศวกรเข้าทำการตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ LPG แล้วพบว่า มีจุดบกพร่อง เช่น การนำถังก๊าซมาใช้งานผิดประเภท หรือพบการรั่วไหลของก๊าซ LPG ในส่วนต่าง ๆ ทางวิศวกรจะแจ้งให้ผู้ประกอบการดำเนินการแก้ไข และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีการเข้าสำรวจอีกครั้ง และออกเอกสารรับรองความปลอดภัยที่ระบุว่า สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลา 1 ปี และลงลายมือชื่อวิศวกรไว้เป็นหลักฐาน
การตรวจสอบรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซ LPG ตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดการใช้งานรถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซได้อย่างปลอดภัย จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการที่มีการนำรถฟอร์คลิฟท์มาใช้ได้ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษารถฟอร์คลิฟท์ติดก๊าซตามช่วงเวลาอย่างเหมาะสม เพื่อยืดอายุการใช้งานและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรถฟอร์คลิฟท์