Logo Engineering Innovation Auditor

065-0938905
      tcharoen96@gmail.com

35/455 ซอยประเสริฐมนูกิจ 48 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240

pm ปั๊มน้ำดับเพลิง

pm fire pump

ปั๊มน้ำดับเพลิง (fire pump) ทำหน้าที่เสมือนเครื่องจักรกลตัวหนึ่ง ที่มีความต้องการการบำรุงรักษา (pm fire pump) ไม่แตกต่างจากเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิต ซึ่งในด้านของความปลอดภัย fire pump มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากโรงงานหรืออาคารเกิดเหตุเพลิงไหม้และต้องการน้ำสำหรับการระงับเหตุเพลิงไหม้

ดังนั้น เพื่อให้ปั๊มน้ำดับเพลิงสามารถทำงานได้ในขณะที่ต้องการใช้งาน ผู้ดูแลอาคารควรจัดทำแผนปฏิบัติการ pm fire pump (Preventive Maintenance : บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) ให้เหมาะสมและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล NFPA 25 และมาตรฐานของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

บำรุงรักษาปั๊มดับเพลิง

บริษัท เอ็นจิเนียริ่ง อินโนเวชั่น ออดิเตอร์ จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันปั๊มดับเพลิง (pm fire pump) เพื่อให้ระบบปั๊มน้ำดับเพลิงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยมีขอบเขตในการดำเนินการดังนี้

สารบัญเนื้อหา

pm fire pump ระบบ engine driven

ปั๊มดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลมักใช้ในกรณีที่มีพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอหรือต้องการเสถียรภาพในการเดินเครื่องใช้งาน หากใช้งานร่วมกับ electric fire pump จะเป็นระบบที่มีเสถียรภาพที่สุด Engine fire pump หรือชุดปั๊มดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่ออกแบบและติดตั้งอย่างเหมาะสมจะมีความสามารถและสมรรถนะที่ดีเพียงพอในการระงับเหตุเพลิงไหม้

ซ่อมบำรุง fire pump system

อย่างไรก็ตาม Engine fire pump มีความต้องการการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (pm fire pump) เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ โดยการ pm fire pump ควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน NFPA25 กล่าวคือควร pm fire pump ให้ครอบคลุมส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการหล่อลื่นเครื่องยนต์, ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง,ระบบการไหลเวียนของอากาศ,ระบบแบตเตอรี่,ระบบระบายความร้อนและการ pm fire pump ในอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ตามความจำเป็น

ระบบการหล่อลื่นเครื่องยนต์

Engine Fire Pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการขับปั๊มน้ำดับเพลิง ทั้งนี้เครื่องยนต์ที่นำมาใช้ต้องได้รับการออกแบบมาให้เหมาะกับ fire pump ตัวนั้น ๆ กล่าวคือต้องมีความเร็วรอบและแรงม้าไม่น้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ตาม Nameplate fire pump

มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.17-18 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุก ๆ 50 ชั่วโมงหรือทุกปี เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถสร้างกำลัง (kW/HP) ได้ตาม Engine Specification

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง
เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

Diesel Engine Driven ที่นำมาใช้เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) ซึ่งกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ต้องการส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศเข้าผสมกันในห้องเผาไหม้และเกิดการจุดระเบิด เพื่อสร้างกำลังงานออกทาง Main Shaft และขับเคลื่อน fire pump สำหรับการสูบน้ำดับเพลิง

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

การสร้างกำลังจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อมีการควบคุมปริมาณของเชื้อเพลิงและอากาศได้เหมาะสมที่สุด (Air/Fuel Ratio) และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จะต้องมีคุณภาพที่ดี กรองน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองดักน้ำ (Fuel Filter and Fuel Separator) จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการกรองน้ำ,สิ่งสกปรกหรือเศษตะกอนในน้ำมันเพื่อให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุด

มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.19 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump โดยการเปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทุก ๆ 50 ชั่วโมงหรือทุกปี เพื่อให้เชื้อเพลิงที่จ่ายเข้าสู่ปั๊มหัวฉีดน้ำมันมีคุณภาพสูงสุดและเพื่อให้เครื่องยนต์เกิดการสันดาปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง

เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
เปลี่ยนกรองดักน้ำ

ระบบการไหลเวียนของอากาศ

กระบวนการสันดาปของ Engine fire pump จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพของอากาศเผาไหม้อย่างเหมาะสม กรองอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ เพื่อกรองหรือดักฝุ่นผงและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าสู่เครื่องยนต์

อย่างไรก็ตาม กรองอากาศ เมื่อใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง มักเกิดการอุดตันและจะอุดตันหรือเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้นหาก Engine fire pump ติดตั้งในบริเวณที่มีฝุ่นผงเป็นจำนวนมาก อาการผิดปกติที่พบได้ของ Engine fire pump ที่มีสาเหตุมาจากกรองอากาศอุดตันหรือเสื่อมสภาพ เช่น ควันไอเสียมีสีดำตลอดช่วงเวลาทำงาน, เครื่องยนต์มีอาการสั่นอย่างมากและอัตราการใช้เชื้อเพลิงมากผิดปกติ

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม :
ประสิทธิภาพการเผาไหม้ คือ อัตราส่วนระหว่าง พลังงานที่ได้ออกมาจริงจากส่วนผสมของน้ำมันและอากาศ กับ พลังงานที่ควรจะได้จากส่วนผสมเดียวกันเมื่อเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์

พลังงานที่ไม่ปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการเผาไหม้แล้วได้ก๊าซ Carbon monoxide (CO) และก๊าซ Hydrogen (H2) ซึ่ง CO และ H2 จะเกิดขึ้นเมื่อสัดส่วนของน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม

การ pm fire pump ในส่วนของกรองอากาศ จึงควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ โดยการทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่หากพบว่าอุปกรณ์เสื่อมสภาพ ซึ่งการ pm fire pump ในส่วนของกรองอากาศ นอกจากจะทำให้ Engine fire pump เกิดการสันดาปอย่างสมบูรณ์, ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องยนต์แล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษของอากาศจากการลดการปลดปล่อยก๊าซ Carbon monoxide (CO)

ทำความสะอาด / เปลี่ยนกรองอากาศ
ทำความสะอาด / เปลี่ยนกรองอากาศ

ระบบแบตเตอรี่

แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์จัดเก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้า สำหรับใช้ในการสตาร์ท Engine fire pump โดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ไดร์สตาร์ท (Dynamo Starter) เพื่อให้เครื่องยนต์ติด ภายในแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยแผ่นโลหะที่เป็นขั้วบวกและขั้วลบ โดยอยู่ในสารละลาย Electrolyte ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยาเคมีกับโลหะจะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น

การตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่สามารถตรวจวัดได้หลายตัวแปร เช่น วัดค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) , วัดค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) และการวัดค่า Cold Cranking Ampere (CCA)

หากพิจารณาในส่วนของกำลังไฟฟ้าสำหรับการสตาร์ท Engine fire pump สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือการวัดค่า CCA ซึ่งปกติค่า CCA ที่วัดได้จากแบตเตอรี่ลูกที่ใช้งานไม่ควรมีค่าต่ำกว่า 25% เมื่อเทียบกับค่า CCA Rating ของแบตเตอรี่ตัวนั้น ๆ

วัดค่า Cold Cranking Amp (CCA) แบตเตอรี่
วัดค่า Cold Cranking Amp (CCA) แบตเตอรี่

มาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.15 ได้แนะนำให้ดำเนินการ pm fire pump ในส่วนของ แบตเตอรี่ โดยการทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่หากพบว่าอยู่ในระดับที่ต่ำและไม่ท่วมแผ่นธาตุ

เติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่
เติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่

ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และทาจารบีหล่อลื่น
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และทาจารบีหล่อลื่น

ระบบระบายความร้อน

ส่วนประกอบของ Engine fire pump ได้แก่ เสื้อสูบ ฝาสูบ ลูกสูบและลิ้นปิด-เปิดต่าง ๆ โดยปกติจะมีความร้อนสูงขณะทำงาน จึงต้องมีการระบายความร้อนที่ดีเพียงพอเพื่อให้ Engine fire pump สามารถทำงานได้ตลอดช่วงระยะเวลาการทำงาน

ระบบระบายความร้อนของ Engine fire pump ที่นิยมใช้มี 2 ประเภทได้แก่ การระบายความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) และการระบายความร้อนผ่านหม้อน้ำแบบรังผึ้ง (Radiator) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนแต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพการใช้งานของปั๊มน้ำดับเพลิงในแต่ละเครื่อง

ระบบระบายความร้อน

น้ำยาหล่อเย็นที่ใช้เติมในระบบระบายความร้อนของ Engine fire pump เพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำยาหล่อเย็นจะมีจุดเดือดที่สูงกว่าน้ำ จึงเกิดการระเหยตัวได้ยาก ทำให้สามารถระบายความร้อนได้มากขึ้น และข้อดีของน้ำยาหล่อเย็นคือจะรักษาสภาพกรด-ด่างในน้ำระบายความร้อนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้ลดการเกิดตะกรัน ลดปัญหาการอุดตัน ป้องกันการเกิดสนิม และป้องกันการกัดกร่อนในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์

การ pm fire pump ในส่วนของระบบระบายความร้อนที่ผู้ดูแลระบบปั๊มดับเพลิงควรจัดทำแผนการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น engine fire pump ทุกปี เนื่องจากน้ำยาหล่อเย็นที่ไหลเวียนภายในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์จะเกิดการชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ และจะเกิดการสะสมตัวของสิ่งสกปรก ทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง

เปลี่ยนถ่ายน้ำระบายความร้อนและเติมน้ำยาหล่อเย็น
เปลี่ยนถ่ายน้ำระบายความร้อนและเติมน้ำยาหล่อเย็น

การ pm fire pump ของระบบระบายความร้อนตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.21 ได้แนะนำให้ดำเนินการ เปลี่ยน Circulating water filter (กรอง Y-Strainer ของ Cooling Line) ปีละ 1 ครั้ง หรือหากตรวจสอบแล้วพบว่ายังมีสภาพที่ดีก็ใช้วิธีการล้างทำความสะอาดได้

ทำความสะอาด Y-Strainer Cooling Line
ทำความสะอาด Y-Strainer Cooling Line

เปลี่ยน Y-Strainer Cooling Line หากพบว่าชำรุด
เปลี่ยน Y-Strainer Cooling Line หากพบว่าชำรุด

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม :
ระบบระบายความร้อนชนิด Heat Exchanger ซึ่งปกติจะมีการติดตั้งเกจวัดความดันของน้ำที่ใช้ในการไหลเวียนเพื่อรับความร้อนจาก Engine fire pump โดยค่าความดันปกติจะอยู่ระหว่าง 30 – 60 psi หากค่าความดันอยู่นอกเหนือจากนี้ สาเหตุอาจเกิดจากการปรับตั้ง Regulator ไม่เหมาะสมหรือ Regulator ชำรุด

pm fire pump ในอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

engine fire pump ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายส่วนโดยประกอบด้วย Main Equipment และ Auxiliary Equipment ซึ่งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ (Auxiliary Equipment) ในระบบ Engine fire pump ควรได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเช่นเดียวกับ Main Equipment

ทำความสะอาด Engine fire pump

การทำความสะอาดเครื่องยนต์เป็นกิจกรรมที่ควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นผงสะสมตัวอยู่บริเวณซอกต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ซึ่งฝุ่นผงที่สะสมตัวอยู่นี้อาจหลุดรอดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนของ Engine fire pump และเป็นการช่วยลดการอุดตันของกรองอากาศได้อีกทาง

ทำความสะอาดเครื่องยนต์Line
ทำความสะอาดเครื่องยนต์

pm fire pump เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์

สายพานเครื่องยนต์ ควรได้รับการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเสื่อมสภาพควรดำเนินการเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากสายพานเครื่องยนต์มีหน้าที่ ในการส่งถ่ายกำลังจาก Engine fire pump ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ไดร์ชาร์จ, ปั๊มน้ำในระบบระบายความร้อน เป็นต้น

เปลี่ยนสายพาน Engine fire pump
เปลี่ยนสายพาน Engine fire pump

pm fire pump ส่วนของ Engine Box

การเดินเครื่องทดสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงประจำสัปดาห์ (fire pump weekly testing) สิ่งที่ผู้ดูแลระบบต้องคอยตรวจสอบและบันทึกค่าคือการตรวจสอบ ความเร็วรอบ, ความดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์จากเกจวัดค่าต่าง ๆ ที่มักติดตั้งไว้บริเวณ Engine Box หรือ Engine Controller

หลายครั้งที่เรามักพบว่า เกจวัดค่าต่าง ๆ ที่ Engine Box ไม่แสดงค่าหรือแสดงค่าแต่มีความคลาดเคลื่อนไปมาก ซึ่งการ pm fire pump ในส่วนของ Engine Box เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าอุปกรณ์ชำรุดควรดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
เปลี่ยน Magnetic Pick Up และ Tachometer
เปลี่ยน Magnetic Pick Up และ Tachometer

Flexible Hose ของเครื่องยนต์

ท่อยางหรือ Flexible Hose เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่ถูกติดตั้งบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ในระบบหมุนเวียนของน้ำระบายความร้อน, ระบบไหลเวียนอากาศและระบบน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งวัสดุยางสังเคราะห์ที่ใช้ผลิต Flexible Hose จะมีอายุการใช้งานตามสภาพพื้นที่ติดตั้งของระบบ fire pump

ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.11 ได้แนะนำให้ตรวจสอบสภาพของ Flexible Hose และ Connecting ต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งต้องไม่พบการรั่วซึมหรือแตกร้าว หากพบว่าเสื่อมสภาพหรือชำรุด ควรดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

เปลี่ยน Flexible Hose ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์
เปลี่ยน Flexible Hose ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์

ข้อแนะนำ : การบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบ fire pump (pm fire pump) ควรดำเนินการควบคู่กับการตรวจสอบระบบ fire pump
รายละเอียดการตรวจสอบ Fire Pump
ตามมาตรฐาน NFPA 25

Electrical fire pump และอุปกรณ์ควบคุม

ปั๊มน้ำดับเพลิงชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Electrical fire pump) เป็นปั๊มดับเพลิงที่มีความแตกต่างจากปั๊มดับเพลิงชนิดขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลตรงที่แหล่งต้นกำลังของปั๊มเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังขับและความเร็วรอบที่เหมาะสมกับ fire pump

Electric fire pump มีข้อดีในด้านของการบำรุงรักษาที่มีความยุ่งยากน้อยกว่า Engine fire pump มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กำลังและความเร็วรอบค่อนข้างคงที่ ไม่มีเสียงรบกวนมากนักขณะทำงาน และจะเป็นระบบที่มีเสถียรภาพสูงเมื่อระบบ fire pump มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าสำรอง

อย่างไรก็ตาม การติดตั้ง electric fire pump ควรมีอุปกรณ์ป้องกันหรือตัดการทำงานของ motor เมื่อมีไฟเกินหรือเมื่อทำงาน Overloading

electric fire pump

เนื่องจาก Electric fire pump ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นแหล่งต้นกำลัง การ pm fire pump จึงต้องมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ขับปั๊มและระบบไฟฟ้าควบคุมการทำงานของมอเตอร์ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

มอเตอร์ขับปั๊มดับเพลิง

Electric motor หรือมอเตอร์ขับปั๊มดับเพลิง เป็นต้นกำลังที่ใช้ในการขับเคลื่อน fire pump เพื่อสูบน้ำในปริมาณตามความต้องการที่ได้ออกแบบไว้ โดยปกติแล้ว electric motor จะใช้ไฟฟ้า 3 phase เนื่องจากให้ประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Single phase

การ pm fire pump ในส่วนของมอเตอร์ขับปั๊มน้ำตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.5 ได้แนะนำให้ดำเนินการตามข้อมูลจากผู้ผลิตหรือถ้าไม่มีข้อมูล แนะนำให้อัดจารบีบริเวณจุดหมุน-motor bearing และขันแน่นบริเวณจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าหากพบว่ามีสภาพหลวม

อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของมอเตอร์ขับ fire pump
อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของมอเตอร์ขับ fire pump

Electric Fire Pump Controller

ตู้ควบคุมการทำงานของ Electric fire pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการสั่งการให้ fire pump ทำงานและหยุดการทำงาน ซึ่งภายในตู้ควบคุมจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น module , Circuit Breaker , Main Contactor , Power Monitor ,Relay ,Transfer Switch

การ pm fire pump ในส่วนของ Electric fire pump controller ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.5 ได้แนะนำให้ดำเนินการตามข้อมูลจากผู้ผลิตหรือหากไม่มีข้อมูล แนะนำให้ขันแน่นบริเวณจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าหากพบว่ามีสภาพหลวมและควรจัดแผนทำความสะอาดภายในตู้ควบคุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการสะสมตัวของฝุ่นผงซึ่งเป็นสาเหตุของความร้อนบริเวณจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ

ทำความสะอาดตู้ควบคุม electric fire pump
ทำความสะอาดตู้ควบคุม electric fire pump

ปั๊มน้ำดับเพลิง (fire pump)

Fire pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำสำรองไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ดับเพลิง เช่น ตู้ดับเพลิง, หัว Sprinkler , ระบบ Pre-action เป็นต้น ปั๊มดับเพลิงมีส่วนประกอบที่สำคัญหลายส่วนที่ต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (pm fire pump) ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

การ pm fire pump ในส่วนของปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.1.1.2.3 ได้แนะนำให้ดำเนินการหล่อลื่นลูกปืน,อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของ fire pump และปรับตั้ง gland nut หากพบว่าหลวมหรือแน่นเกินไป (ปริมาณน้ำหล่อเพลาที่ packing มีปริมาณเหมาะสม คือ 1 หยดต่อวินาที) หรือเปลี่ยน packing seal หากพบว่าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ

อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของ fire pump
อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของ fire pump

ปรับตั้ง Gland Nut ให้มีปริมาณน้ำหล่อเพลาที่เหมาะสม
ปรับตั้ง Gland Nut ให้มีปริมาณน้ำหล่อเพลาที่เหมาะสม

เปลี่ยน packing seal หากพบว่าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
เปลี่ยน packing seal หากพบว่าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ

Right angle gear drive

ชุดขับเกียร์เปลี่ยนทิศ หรือ Right angle gear drive ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางการส่งผ่านกำลังงานจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์จากแนวดิ่งเป็นแนวระดับและในบางระบบอาจมีการปรับความเร็วรอบจากต้นกำลังให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของ fire pump ซึ่งจะมีการระบุค่า Ratio Horizontal / Vertical ไว้ที่ Nameplate ของ angle gear

Right angle gear drive

Right angle gear drive จะถูกติดตั้งในระบบ Vertical turbine fire pump หรือปั๊มน้ำดับเพลิงชนิดแนวตั้ง ซึ่งใช้ในการสูบน้ำจากแหล่งน้ำสำรองที่มีระดับต่ำกว่าผิวดิน (Underground Tank)

ชุดขับเกียร์เปลี่ยนทิศนี้ จะมีการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเกียร์ ซึ่งปกติจะมีค่าความหนืดสูงกว่าน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ น้ำมันเกียร์จะถูกดูดจาก reservoir ที่อยู่ภายในชุดเกียร์และถูก spay บริเวณผิวสัมผัสระหว่าง ring gear และ differential pinion gear เพื่อไม่ให้เฟืองเกียร์สัมผัสกันโดยตรงซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายของชุด gear

การ pm fire pump ในส่วนของ Right angle gear drive ตามมาตรฐาน NFPA 25 article 8.1.4*(5) ให้ดำเนินการเติมน้ำมันเกียร์หากพบว่ามีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้ผลิต หรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุก ๆ 50 ชั่วโมงหรือทุกปี โดยการเลือก Grade ของน้ำมันเกียร์ควรเลือกใช้ตามคู่มือจากผู้ผลิต

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์

ปั๊มน้ำรักษาแรงดัน (jockey pump)

Jockey pump หรือปั๊มน้ำรักษาแรงดัน คือ ปั๊มน้ำที่ทำหน้าที่ในการรักษาแรงดันของน้ำในระบบดับเพลิงให้มีความดันตามที่ได้ออกแบบไว้ สาเหตุที่ต้องมีการติดตั้ง Jockey pump เพื่อลดการทำงานของ fire pump โดยไม่จำเป็น เนื่องจากภายในระบบท่อดับเพลิงอาจมีการรั่วซึมบริเวณจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ ทำให้ความดันในระบบลดลง

การเลือกขนาดของ Jockey Pump ที่เหมาะสมกับระบบดับเพลิง ให้พิจารณาตามมาตรฐาน NFPA 20 Article 4.27.3 (Handbook) ที่ได้กำหนดให้ Jockey Pump มีอัตราการสูบน้ำ (Flowrate) ไม่น้อยกว่า 1% เมื่อเทียบกับขนาดของ fire pump

การ pm fire pump ในส่วนของ Jockey Pump ควรดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษาตามคู่มือจากผู้ผลิต หรือหากไม่มีข้อมูล แนะนำให้อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของมอเตอร์ขับ Jockey Pump ,ทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ และบำรุงรักษาหรือเปลี่ยน Mechanical Seal ของปั๊มน้ำหากพบว่าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ

อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของมอเตอร์ขับ jockey pump
อัดจารบีบริเวณจุดหมุนของมอเตอร์ขับ jockey pump

ทำความสะอาด Jockey Pump
ทำความสะอาด Jockey Pump

fire pump controller

ตู้ควบคุมการทำงานของ engine fire pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการสั่งการให้ fire pump ทำงานและหยุดการทำงาน โดยข้อกำหนดตามมาตรฐาน NFPA 20 ได้กำหนดให้ fire pump ต้องสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ (Auto Start) และหยุดการทำงานด้วยมือ (Manual Stop)

ภายใน fire pump controller จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น battery charger , fuse, speed control , pressure transducer, pressure switch, circuit breaker, program timer, volt meter, amp-meter, high temperature alert device , low oil pressure alert device เป็นต้น

การ pm fire pump ในส่วนของ Engine fire pump controller ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 8.5 ได้แนะนำให้ดำเนินการตามข้อมูลจากผู้ผลิตหรือหากไม่มีข้อมูล แนะนำให้ขันแน่นบริเวณจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าหากพบว่ามีสภาพหลวมและควรจัดแผนทำความสะอาดภายในตู้ควบคุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการสะสมตัวของฝุ่นผงซึ่งเป็นสาเหตุของความร้อนบริเวณจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ และหากพบว่าอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมชำรุดหรือเสื่อมสภาพควรดำเนินการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

ทำความสะอาด fire pump controller
ทำความสะอาด fire pump controller

Jockey pump controller

ตู้ควบคุมการทำงานของ jockey pump เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการสั่งการให้ jockey pump ทำงานและหยุดการทำงาน โดยปกติจะกำหนดให้ jockey pump ทำงานและหยุดทำงานแบบอัตโนมัติ (Auto Start and Stop) ซึ่งภายในตู้ควบคุมจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น pressure switch, circuit breaker, timer เป็นต้น

การ pm fire pump ในส่วนของ jockey pump controller ควรดำเนินการตามข้อมูลจากผู้ผลิตหรือหากไม่มีข้อมูล แนะนำให้ขันแน่นบริเวณจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าหากพบว่ามีสภาพหลวมและควรจัดแผนทำความสะอาดภายในตู้ควบคุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการสะสมตัวของฝุ่นผงซึ่งเป็นสาเหตุของความร้อนบริเวณจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ และหากพบว่าอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมชำรุดหรือเสื่อมสภาพควรดำเนินการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

ทำความสะอาด jockey pump controller
ทำความสะอาด jockey pump controller

Add Line กดเพื่อโทรหาเรา

วาล์วและอุปกรณ์ประกอบท่อน้ำดับเพลิง

ระบบ fire pump นอกเหนือจากอุปกรณ์หลัก เช่น fire pump, engine fire pump, electric fire pump แล้ว ในระบบยังมีการติดตั้งวาล์วและอุปกรณ์ประกอบในระบบท่อน้ำดับเพลิง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าอุปกรณ์หลักและต้องมีการบำรุงรักษาให้สอดคล้องตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) และมาตรฐานสากล NFPA 25

วาล์วที่ติดตั้งในระบบ fire pump ที่มักถูกนำมาใช้ เช่น OS&Y Gate Valve , Butterfly Valve, Check Valve , Pressure Relief Valve ซึ่งวาล์วแต่ละประเภทต่างมีข้อดีและข้อจำกัดในการใช้งาน โดยการเลือกใช้และการติดตั้งวาล์วในระบบ fire pump ควรพิจารณาให้สอดคล้องตามมาตรฐาน NFPA 20 (Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection)

OS&Y Gate Valve

วาล์วประเภทนี้มีใช้กันมากในระบบ fire pump ซึ่งจะติดตั้งในตำแหน่งของท่อ Main ด้านดูดและด้านจ่ายของ fire pump เนื่องจากเมื่อเปิดเต็มที่จะให้ความต้านทานต่อการไหลต่ำ และอาจพบการติดตั้ง OS&Y Gate Valve บริเวณ Line ท่อ Flow Test Line ในระบบปั๊มดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่

OS&Y Gate Valve ใช้ทำหน้าที่ในการปิดและเปิดการไหลของน้ำเท่านั้น ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบควบคุมการไหล (Throttling Device) เนื่องจากจะทำให้เกิดการขัดสีของขอบประตู (Disc) และทำให้วาล์วรั่วซึมได้

การ pm fire pump ในส่วนของ OS&Y Gate Valve ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.3.4 ได้แนะนำให้ดำเนินการ เติมสารหล่อลื่นบริเวณเกลียวของ stem และทดสอบการปิด-เปิดของ Disc Valve

ฉีดสเปรย์หล่อลื่นบริเวณเกลียวของ Stem - OS&Y Gate Valve
ฉีดสเปรย์หล่อลื่นบริเวณเกลียวของ Stem - OS&Y Gate Valve

Butterfly Valve

วาล์วผีเสื้อหรือ Butterfly Valve เป็นวาล์วชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้งานในระบบ fire pump ซึ่งมักติดตั้งบริเวณ Line ท่อทดสอบการไหล (flow test line) เนื่องจากสามารถใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลได้ดี วาล์วประเภทนี้มีข้อดีที่มีน้ำหนักเบา, ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย , ซ่อมแซมได้ง่าย, Pressure Drop น้อยและสามารถเปิดลิ้นวาล์วได้เต็มที่เมื่อหมุนก้านวาล์วเพียง 90 องศา

การ pm fire pump ในส่วนของ butterfly valve ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.3 ได้แนะนำให้ดำเนินการ ซ่อมแซมหรือเปลี่ยน butterfly valve หากตรวจสอบแล้วพบว่า ลิ้นวาล์วปิดไม่สนิท เมื่ออยู่ในสภาวะปิดสุด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากลิ้นวาล์วหรือบ่าวาล์วชำรุด

เปลี่ยน butterfly valve เมื่อพบว่าบ่าวาล์วชำรุด วาล์วปิดไม่สนิท
เปลี่ยน butterfly valve เมื่อพบว่าบ่าวาล์วชำรุด วาล์วปิดไม่สนิท

Check Valve

เช็ควาล์ว (Check Valve) เป็นวาล์วที่ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อยกลับ ซึ่งจะพบวาล์วชนิดนี้ติดตั้งบริเวณท่อ Main ด้านจ่ายของ Fire Pump และ Jockey Pump ที่ต่อเข้าระบบท่อน้ำดับเพลิง

Check Valve สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ Lift Check Valve และ Swing Check Valve ซึ่งในระบบ Fire Pump ส่วนมากมักติดตั้งเป็นชนิด Lift Check Valve เนื่องจากเหมาะกับการใช้ในระบบที่มีอัตราการไหลสูงแต่จะมีข้อเสียที่มีค่า Head Loss สูงกว่าชนิด Swing Check Valve

การ pm fire pump ในส่วนของ check valve ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.4.2 ได้แนะนำให้ดำเนินการ ทำความสะอาดส่วนประกอบภายในตัววาล์ว, ซ่อมแซมหรือเปลี่ยน valve ใหม่หากตรวจสอบแล้วพบว่า ลิ้นวาล์วปิดไม่สนิทหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ชำรุด

เปลี่ยน check valve เมื่อพบว่าอุปกรณ์ชำรุด
เปลี่ยน check valve เมื่อพบว่าอุปกรณ์ชำรุด

Pressure Relief Valve (PRV)

วาล์วป้องกันความดัน (Pressure Relief Valve : PRV) เป็นวาล์วที่ทำหน้าที่ในการระบายน้ำบางส่วนกลับเข้าสู่แหล่งน้ำสำรองเพื่อป้องกันความดันของระบบไม่ให้สูงกว่าที่ได้ออกแบบไว้

การตรวจสอบการทำงานของ Pressure Relief Valve ควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.5.1.1 และ 13.5.1.2 โดยวาล์วต้องได้รับการตรวจสอบสภาพทุก ๆ 3 เดือน ซึ่งต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์กล่าวคือ ต้องไม่พบการรั่วไหล, สามารถรักษาความดันด้านจ่ายได้ตามค่าความดันออกแบบและอุปกรณ์ต้องไม่ชำรุดหรือแตกร้าว

การ pm fire pump ในส่วนของวาล์วป้องกันความดันตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.5.1.2.1 ได้แนะนำให้ดำเนินการปรับตั้ง Pressure Relief Valve ให้ระบายน้ำออกตามค่าความดันที่ได้ออกแบบไว้และบำรุงรักษาตามคำแนะนำจากผู้ผลิต หรือหากพบว่าวาล์วชำรุดหรือไม่สามารถรักษาความดันได้ตามค่าความดันที่ต้องการ ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยน valve ใหม่

เปลี่ยน pilot operated เมื่อพบว่าชำรุดไม่สามารถรักษาความดันขาเข้า PRV ได้
เปลี่ยน pilot operated เมื่อพบว่าชำรุดไม่สามารถรักษาความดันขาเข้า PRV ได้

Pressure Gauge

เกจวัดความดันที่ติดตั้งบริเวณด้านดูดและด้านจ่ายของ fire pump ใช้สำหรับการตรวจสอบความดันขณะเดินเครื่องทดสอบการทำงานประจำสัปดาห์และการทดสอบประสิทธิภาพ fire pump ประจำปี

การ pm fire pump ในส่วนของ pressure gauge ตามมาตรฐาน NFPA 25 Article 13.2.5 ได้แนะนำให้ดำเนินควบคู่กับการตรวจสอบทุก ๆ 3 เดือน หากพบว่าชำรุดหรือมีค่าความคลาดเคลื่อนเกิน 3% ของ full scale ให้ดำเนินการเปลี่ยนใหม่ ซึ่ง pressure gauge ควรมีการสอบเทียบทุก ๆ 5 ปี

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม :
ตามมาตรฐาน NFPA 20 Article 4.2 ได้กำหนดให้มีการติดตั้ง pressure gauge ที่ด้านจ่ายของ fire pump ที่มีขนาดหน้าปัดไม่น้อยกว่า 3.5 นิ้ว โดยมี Scale ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของ Rated pressure fire pump แต่ไม่น้อยกว่า 200 psi และให้ติดตั้ง pressure gauge ที่ด้านดูดของ fire pump ที่สามารถอ่านค่าความดันได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความดันด้านดูดสูงสุดของ fire pump

เปลี่ยน pressure gauge เมื่อพบว่าชำรุด
เปลี่ยน pressure gauge เมื่อพบว่าชำรุด

สรุป

การ pm fire pump หรือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบปั๊มดับเพลิง เป็นแนวทางปฏิบัติที่จำเป็น ที่ผู้ดูแลอาคารควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอตามช่วงเวลาที่เหมาะสม และสอดคล้องตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและมาตรฐานสากล NFPA 25 (ITM of water based fire protection systems)

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (pm fire pump) ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมถือเป็นกลไกที่สำคัญที่จะยืนยันได้ว่า ระบบ fire pump ที่ติดตั้งภายในอาคาร จะสามารถทำงานได้ทันทีและมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันความเสียหายของเครื่องจักรและทรัพย์สินภายในสถานประกอบการของท่าน

TOP