blank
Logo Engineering Innovation Auditor

065-0938905
      tcharoen96@gmail.com

35/455 ซอยประเสริฐมนูกิจ 48 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240

ไอน้ำรั่ว สิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม
(ข้อคิดงานตรวจสอบพลังงานตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน)

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมในประเทศของเราต้องมีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานของกระทรวงพลังงาน ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อเป็นการควบคุมการใช้พลังงานภายในประเทศให้เกิดการใช้พลังงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศหรือลดการจัดหาแหล่งพลังงานเพื่อรองรับการเติบโตในภาคส่วนต่าง ๆ

โดยหลักการของการอนุรักษ์พลังงาน คือการใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น ถ้าเกินความจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องใช้ก็ต้องหามาตรการในการลดการใช้พลังงานในส่วนนั้น ด้วยวิธีจัดหามาตรการที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องมีการลงทุนไปจนถึงมาตรการที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ กล่าวคือเราควรลดการใช้พลังงานด้วยการจัดทำตามมาตรการ House Keeping, Machine Change และ Process Improvement ตามลำดับ

จากประสบการณ์ในการเข้าตรวจสอบระบบการจัดการพลังงานของทีมงานบริษัท ฯ EI-Auditor ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานไอน้ำ พบว่ายังมีโรงงานบางแห่งที่ปล่อยให้มีไอน้ำรั่วไหลตามท่อส่งจ่ายไอน้ำ หรือตามเครื่องจักรที่ใช้ไอน้ำ ซึ่งบางครั้งเราได้รับคำตอบจากทีมงานอนุรักษ์พลังงานของโรงงานว่า “ ไอน้ำรั่วเป็นเรื่องปกติ แก้แล้วสักพักก็รั่วอีก และคงไม่สูญเสียอะไรมากมาย” นั่นคือคำตอบที่ได้รับและทำให้เกิดแนวคิดที่จะชี้ประเด็นให้เห็นว่า ไอน้ำที่รั่วที่เรามองว่าเป็นจุดเล็ก ๆ ของการสูญเสียแต่ถ้ามาพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะพบว่า ในแต่ละปีเราต้องสูญเสียไปมากน้อยเท่าใด

ขอยกกรณีศึกษาของโรงงานแห่งหนึ่งที่มีการใช้งานระบบไอน้ำโดย มีการติดตั้งหม้อไอน้ำชนิดเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งมีข้อมูลดังนี้

หม้อไอน้ำมีประสิทธิภาพ 94% ผลิตไอน้ำที่ความดัน 7.3 bar โดยใช้น้ำป้อนที่ผ่านการผสมกับ Condensate โดยมีอุณหภูมิน้ำป้อน 90°C เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณการใช้ 3.48 MMBTU/hr โดยราคาก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 289.59 บาท/MMBTU

จากการสำรวจการรั่วของไอน้ำตามท่อส่งและเครื่องจักรต่าง ๆ ภายในโรงงานพบว่ามีรอยรั่วจำนวน 11 จุดขนาดรูรั่วประมาณ 3 mm

การคำนวณหาการสูญเสียที่เกิดจากไอน้ำรั่วตามตารางด้านล่าง
ตาราง การคำนวณหาการสูญเสียที่เกิดจากไอน้ำรั่ว

จากผลการคำนวณพบว่า เราต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายของไอน้ำที่รั่วปีละ 156,908.42 บาท โดยการสูญเสียนี้จะเพิ่มสูงขึ้นหากหม้อไอน้ำมีประสิทธิภาพลดลง จำนวนรูรั่วมีมากขึ้น ขนาดรูรั่วมากขึ้น น้ำป้อนมีอุณหภูมิต่ำลง ชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในการซ่อมแซมอาจมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่ไม่มากนัก หากสามารถดำเนินการได้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ทันที แต่สิ่งที่มีความยากในการแก้ไขคือการรั่วในบริเวณท่อ Main ส่งจ่ายไอน้ำที่มีไอน้ำในท่อตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้การบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงอย่างเหมาะสม

จากปัญหาดังกล่าวโรงงานควรจัดแผนการซ่อมแซมรอยรั่วตามจุดต่าง ๆอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการสูญเสียความดันและความร้อนในระบบผลิตไอน้ำ อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวควรส่งเสริมและจัดให้อยู่ในแผนการบำรุงรักษาประจำเดือนเพื่อควบคุมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

extra services
extra services featured


TOP